ตำบลท่าศาลา เป็นตำบลที่หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่ติดชายฝั่งทะเล ประชาชน
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง โดยเฉพาะประชาชนในหมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 15
คนในชุมชนส่วนมากเป็นคนไทยมุสลิม ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่ดั้งเดิม
ได้ใช้ยอดลานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นเส้น
แล้วตากแห้งจากนั้นก็นำมาทอเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการหาปลา
โดยใช้ติดที่ปลายอวนในแต่ละหลัง
และนำมาใช้เย็บเป็นถุงเพื่อใช้ดักกุ้งตัวเล็กๆ ที่นำมาทำกะปิ
ซึ่งเรียกกันว่า “กุ้งเคย” ต่อมาวัตถุ ประสงค์ในการใช้งานเปลี่ยนไป
เนื่องจากชาวประมงนำไนลอนมาใช้ในการทำอวน แต่ยังมีการทอใบลานอยู่
โดยมีชาวจีนนำใบลานที่ทอเป็นผืน ซึ่งเรียกทั่วไปว่า “หางอวน”
มาตัดเป็นเสื้อผ้าเพื่อใช้สำหรับแห่ศพของคนจีน
ผลิตภัณฑ์หางอวน เกิดมาจากชาวบ้านที่มีอาชีพการประมง
ได้ร่วมกันคิดค้นหาเครื่องมือมาใช้ในการประกอบอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ดั้งเดิม
เพื่อจับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะจับกุ้งเคย ที่นำมาใช้ในการทำกะปิ
และต่อมาเมื่อมีเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพสะดวกกว่า คือ ไนล่อน
ชาวบ้านจึงนำ หางอวนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ
ผลิตภัณฑ์หางอวนเป็นของแปลก น้ำหนักเบา เป็นหัตกรรมพื้นบ้านทำด้วยมือ มีความคงทน เก็บรักษาง่ายไม่ขึ้นรา
1. ได้รับการคัดสรรสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว
2. มผช. 357/2547
การทำผ้ามัดย้อมบ้านนากุน โดยมีวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการผลิต ดังนี้
วัตถุดิบประกอบด้วย
1. ใบลาน
2. กี่ทอ
3. สีย้อม
1. เตรียมยอดลาน
2. ฉีกยอดลานแยกเป็นใบๆ
3. เอาก้านใบออกแยกเป็นมัดๆ
4. นำไปแช่น้ำ 2 คืน
5. นำมาลอกเป็น 2 หน้าๆ หนึ่งทิ้ง
6. นำหวีมาสางให้เป็นเส้นเล็กๆ
7. นำไปแช่น้ำ 2 คืน
8. ตากแดดให้แห้งลูบให้เป็นเส้นกลม
9. นำมาต่อให้เป็นเส้นยาว ย้อมสี ตากให้แห้ง
10. ค้นให้ม้วนยาวประมาณ 3.5 เมตร
11. เข้ากี่ทอเป็นผืนๆ ม้วนเก็บ
12. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง
กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มทอหางอวนบ้านบางตง
สถานที่ผลิต : บ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 15 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
80160 โทร 075-369-539
ประธานกลุ่ม : นางจินดา เลาหวิวัฒน์
สถานที่ตั้งกลุ่ม : บ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 15 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 โทร 075-369-539
จำหน่ายในประเทศ ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่
จำหน่ายต่างประเทศ ที่มาเลเซีย ญี่ปุ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น