โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือเรียกย่อว่า โอทอป (OTOP) เป็นโครงการกระตุ้นธุรกิจประกอบการท้องถิ่น
ซึ่งได้รับการออกแบบโดยทักษิณ ชินวัตร สมัยที่ยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีระหว่าง
พ.ศ. 2544-2549 โครงการดังกล่าวมีเป้าหมายจะสนับสนุนผลิตภัณฑ์ลักษณะเฉพาะที่ผลิตและจำหน่าย ในท้องถิ่นแต่ละตำบล โดยได้รับแรงบันดาลใจมากจากโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์
(OVOP) ที่ประสบความสำเร็จของญี่ปุ่น โครงการโอทอปกระตุ้นให้ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและการ ตลาด
เลือกผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นมาหนึ่งชิ้นจากแต่ละตำบลมาประทับตราว่า "ผลิตภัณฑ์โอทอป" และจัดหาเวทีในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าเหล่านี้ ผลิตภัณฑ์โอทอปครอบคลุมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง ซึ่งรวมไปถึงงานหัตถกรรม
ฝ้ายและผ้าไหม เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับแฟชั่น
ของใช้ในครัวเรือนและอาหาร หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 โครงการโอทอปได้ถูกยกเลิกไป
ก่อนจะได้รับการฟื้นฟูอีกครั้งแต่เปลี่ยนชื่อใหม่
ปรัชญา
"หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์" เป็นแนวทางประการหนึ่ง
ที่จะสร้างความเจริญแก่ชุมชนให้สามารถยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของคนในชุมชน
ให้ดีขึ้น โดยการผลิตหรือจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น
ให้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่
สอดคล้องกับวัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น
สามารถจำหน่ายในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ โดยมีหลักการ พื้นฐาน 3 ประการ
คือ
- ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สากล (Local Yet Global)
- พึ่งตนเองและคิดอย่างสร้างสรรค์ (Self-Reliance-Creativity)
- การสร้างทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development)
ผลิตภัณฑ์
ไม่ได้หมายถึงตัวสินค้าเพียงอย่างเดียวแต่เป็นกระบวนการทางความคิดรวมถึง
การบริการ การดูแลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
การรักษาภูมิปัญญาไทย การท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
การต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีจุดเด่น
จุดขายที่รู้จักกันแพร่หลายไปทั่วประเทศและทั่วโลก
กระบวนการจัดการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นความสามารถ
กระบวนการจัดการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นความสามารถ (อังกฤษ: Competency-Based Skill Training, CBST)
เป็นกระบวนการจัดการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานที่มุ่งเน้นความ
สามารถ(Competence)ของผู้เข้ารับการฝึกเป็นสำคัญ
ไม่ยึดติดกับเวลา(Time-Based)และกระบวนการฝึกทักษะต้องดำเนินไปตามขั้นตอน
ที่ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าอย่างเข็มงวด
ผู้เข้ารับการฝึกที่เรียนรู้ได้เร็วก็สามารถจบการฝึกได้ก่อนบุคคลอื่น
กระบวนการวัดและประเมินผล จะใช้การวัดสมรรถนะ(Performance
Criteria)แทนการออกเป็นเกรดวิชา แนวทางต่างๆกำหนดขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญภายใต้โครงการเงินกู้ ADB และโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพฝีมือแรงงาน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานกระทรวงแรงงาน ในปี ค.ศ. 1997
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น