วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555

ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร


เริ่มจากการใช้สมุนไพรบำรุงรักษาเส้นผมมาตั้งแต่อดีต ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดต่อๆกันมาจากบรรพบุรุษและ หนังสือพระ ด้วยความที่ นายอุดร ตรีสมบูรณ์เป็นคนชอบศึกษาเรื่องสมุนไพรอยู่แล้ว จึงทำสมุนไพรบำรุงผมใช้เอง และแจกจ่ายให้ชาวบ้านได้ทดลองใช้เป็นเวลาหลายเดือน ทุกคนที่ได้ทดลองใช้ ต่างบอกว่าบำรุงรักษาเส้นผมได้ดีมาก และมีคนสนใจมาสั่งซื้อน้ำมันบำรุงผมจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มและผลิต สมุนไพรบำรุงผม เพื่อจำหน่าย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 และทำมาจนถึงปัจจุบัน
โดยปรับปรุงและพัฒนาด้านการผลิตได้แก่ การปรับปรุงกลิ่น ให้ถูกใจลูกค้า รักษาคุณภาพในการดูแลรักษาเส้นผมและปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ ให้ทันสมัย น่าใช้ จนกระทั่งมีลูกค้าใช้กันเป็นประจำลูกค้าที่สนใจ จะสั่งซื้อ โดยส่งไปรษณีย์, ซื้อตามงานแสดงสินค้าทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด, ผ่านตัวแทนจำหน่าย, ที่ทำการกลุ่มอาชีพ และมีตัวแทนจำหน่าย สั่งผลิตภัณฑ์ไปจำหน่ายในนาม HERB CLUPในห้างสยามพาราก้อน กรุงเทพมหานคร


เป็นผลิตภัณฑ์บำรุงเส้นผมที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรหลายชนิดทำให้ผมไม่แตกปลาย มีน้ำหนัก นุ่มสลวยสวยเหมือนธรรมชาติ
ส่วนประกอบของสมุนไพร ลูกค้าสนใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

1. ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับ 5 ดาว
2. ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม

- นำสมุนไพรที่สกัดมาแล้ว มาผสมในน้ำต้มสุก
- นำวัตถุดิบที่เตรียมไว้มาผสมกับสมุนไพร
- นำมาตรวจหาค่า PH ค่าความหนืดให้ได้มาตรฐานตามต้องการ
- นำมาบรรจุขวด แพ็คใส่กล่อง พร้อมจำหน่าย

กลุ่มผู้ผลิต กลุ่มสตรีศรีมาลัย
สถานที่ผลิต ตั้งอยู่เลขที่ 26 หมู่ที่ 11 ตำบลบ้านกรด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
โทร. 035-350-550, 085-18009915, 087-0542522
ประธานกลุ่ม นายอุดร ตรีสมบูรณ์

กลุ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยผ่านเครือข่าย OTOP, จำหน่ายเองตามงานแสดงสินค้าที่ส่วนราชการ และเอกชนจัดทั้งภายในจังหวัด และนอกเขตจังหวัด, ส่งตัวแทนจำหน่าย, ส่งไปรษณีย์,ลงข้อมูลทางเว็บไซค์, ส่งตัวแทนจำหน่ายห้างสยามพารากอน

ประเภทของใช้


ตำบลท่าศาลา เป็นตำบลที่หมู่บ้านส่วนใหญ่อยู่ติดชายฝั่งทะเล ประชาชน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการประมง โดยเฉพาะประชาชนในหมู่ที่ 14 และหมู่ที่ 15 คนในชุมชนส่วนมากเป็นคนไทยมุสลิม ประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่ดั้งเดิม ได้ใช้ยอดลานที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำเป็นเส้น แล้วตากแห้งจากนั้นก็นำมาทอเพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ในการหาปลา โดยใช้ติดที่ปลายอวนในแต่ละหลัง และนำมาใช้เย็บเป็นถุงเพื่อใช้ดักกุ้งตัวเล็กๆ ที่นำมาทำกะปิ ซึ่งเรียกกันว่า “กุ้งเคย” ต่อมาวัตถุ ประสงค์ในการใช้งานเปลี่ยนไป เนื่องจากชาวประมงนำไนลอนมาใช้ในการทำอวน แต่ยังมีการทอใบลานอยู่ โดยมีชาวจีนนำใบลานที่ทอเป็นผืน ซึ่งเรียกทั่วไปว่า “หางอวน” มาตัดเป็นเสื้อผ้าเพื่อใช้สำหรับแห่ศพของคนจีน

ผลิตภัณฑ์หางอวน เกิดมาจากชาวบ้านที่มีอาชีพการประมง ได้ร่วมกันคิดค้นหาเครื่องมือมาใช้ในการประกอบอาชีพที่ทำมาตั้งแต่ดั้งเดิม เพื่อจับสัตว์น้ำ โดยเฉพาะจับกุ้งเคย ที่นำมาใช้ในการทำกะปิ และต่อมาเมื่อมีเครื่องมือที่ใช้ในการประกอบอาชีพสะดวกกว่า คือ ไนล่อน ชาวบ้านจึงนำ หางอวนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ
ผลิตภัณฑ์หางอวนเป็นของแปลก น้ำหนักเบา เป็นหัตกรรมพื้นบ้านทำด้วยมือ มีความคงทน เก็บรักษาง่ายไม่ขึ้นรา

1. ได้รับการคัดสรรสินค้า OTOP ระดับ 4 ดาว
2. มผช. 357/2547

การทำผ้ามัดย้อมบ้านนากุน โดยมีวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ และกระบวนการผลิต ดังนี้
วัตถุดิบประกอบด้วย 1. ใบลาน
2. กี่ทอ
3. สีย้อม

1. เตรียมยอดลาน
2. ฉีกยอดลานแยกเป็นใบๆ
3. เอาก้านใบออกแยกเป็นมัดๆ
4. นำไปแช่น้ำ 2 คืน
5. นำมาลอกเป็น 2 หน้าๆ หนึ่งทิ้ง
6. นำหวีมาสางให้เป็นเส้นเล็กๆ
7. นำไปแช่น้ำ 2 คืน
8. ตากแดดให้แห้งลูบให้เป็นเส้นกลม
9. นำมาต่อให้เป็นเส้นยาว ย้อมสี ตากให้แห้ง
10. ค้นให้ม้วนยาวประมาณ 3.5 เมตร
11. เข้ากี่ทอเป็นผืนๆ ม้วนเก็บ
12. นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง

กลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มทอหางอวนบ้านบางตง
สถานที่ผลิต : บ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 15 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 โทร 075-369-539
ประธานกลุ่ม : นางจินดา เลาหวิวัฒน์
สถานที่ตั้งกลุ่ม : บ้านเลขที่ 215 หมู่ที่ 15 ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 80160 โทร 075-369-539

จำหน่ายในประเทศ ที่กรุงเทพฯ เชียงใหม่
จำหน่ายต่างประเทศ ที่มาเลเซีย ญี่ปุ่น

ประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย


บ้านแม่ฮ่าง หมู่ที่ ๔ ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง มีระยะทางห่างจากที่ว่าการอำเภองาว ประมาณ ๒๕ กม. ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยภูเขา เผ่ากะเหรี่ยง และเผ่าอาข่า เดิมทีนั้นชาวบ้านแม่ฮ่าง ได้อาศัยอยู่ ณ บ้านแม่กวัก (แม่หินในปัจจุบัน) ต่อมาได้มีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่อย่างถาวร ณ บ้านแม่ฮ่างในปัจจุบัน เนื่องจากเมื่อก่อนการคมนาคมไม่สะดวก
ชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปแตสแต้นท์ และคาทอลิคและนับถือผี ส่วนการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม หาของป่า รับจ้างทั่วไป ภายในหมู่บ้านมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำ และการดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบ อยู่กับธรรมชาติ
วิถีชีวิตของชาวบ้านกะเหรี่ยง ดำรงชีวิตโดยการทำไร่ หาของป่า เวลาว่างผู้หญิงก็จะทอผ้าไว้สำหรับนุ่งห่ม และเป็นเครื่องใช้ในบ้าน เช่น ผ้าห่ม ผ้าปู ถุงย่าม ผ้าโบกหัว ไว้ใช้ในครัวเรือน ซึ่งผู้หญิงกะเหรี่ยงทุกคนต้องทอผ้าเป็นทุกคน
ดังนั้น ผู้หญิงชาวบ้านแม่ฮ่าง จึงมีการรวมกลุ่มกันจัดตั้งกลุ่มทอผ้าฯ ขึ้นมา ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในชีวิตประจำวัน ก็ทอผ้าใช้กันอยู่แล้ว จึงมีแนวคิดในการหารายได้เสริมให้แก่ครัวเรือน และเป็นการสืบทอดภูมิปัญญาให้แก่รุ่นลูก รุ่นหลานสืบไป

ความโดดเด่นของผ้าทอกะเหรี่ยง หรือผ้าทอชาวปวาเก่อญอ เป็นผ้าฝ้าย ที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีลายดั้งเดิม และลายที่มีปรับปรุง ประยุกต์เป็นลายใหม่ โดยใช้ฐานลายเก่ามาปรับ ทำให้เกิดความสวยงามและทันสมัยมากขึ้น
จากวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ผูกพันกับป่า ทำให้ชาวบ้านกะเหรี่ยงบ้านแม่ฮ่าง ยังคงมีวิถีชีวิตดั้งเดิมของชนเผ่า โดยเฉพาะการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งเปลือกไม้ ใบไม้ ผลไม้ มาย้อมสีผ้า ไม่ว่าจะเป็นเปลือกประดู่ ให้สีน้ำตาลอ่อน ลูกสะหมอให้สีเทาเข้ม สีน้ำเงินจากใบห้อม โดยนำวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ในการย้อมสี และในปัจจุบันมีการประยุกต์ผลิตภัณฑ์บางชิ้น โดยมีการใช้สีสังเคราะห์มาเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มสีสันให้แก่เนื้อผ้า
ผ้าทอของบ้านแม่ฮ่าง เป็นผ้าทอจะทอจากกี่เอว หรือห้างหลัง เป็นลวดลายที่ออกแบบและคิดไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วว่า ผ้าชิ้นนี้จะถูกนำไปใช้อย่างไร และหากต้องการนำไปตกแต่งจะตกแต่งอย่างไรให้สวยงามและเพิ่มมูลค่า นอกจากผ้าทอที่ได้จะถูกนำไปใช้ ทำเสื้อ ทำย่าม ทำผ้าถุงแล้ว กลุ่มฯ ยังมีการทอผ้าพื้นสีพื้น เพื่อใช้สำหรับการตัดเย็บเสื้อผ้าอีกด้วย



- OTOP คัดสรร ๕ ดาว ปี พ.ศ. ๒๕๕๓
- มผช. ๑๘/๒๕๕๒

วิถีชีวิตของชนเผ่ากะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม่ฮ่าง ยังคงสืบทอดผ่านลูกหลาน โดยเฉพาะการทอผ้า ผู้หญิงชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้าน ได้มีการจัดตั้งกลุ่มทอผ้าขึ้นมา ในวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๔๘ ซึ่งในชีวิตประจำวัน มีการทอผ้าใช้กันอยู่แล้ว นอกจากนั้น กลุ่มฯ เป็นศูนย์ข้อมูลและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากฝีมือของสมาชิกกลุ่ม ซึ่งลวดลายผ้าทอยังคงแบบลวดลายของชนเผ่า และเริ่มมีการประยุกต์ออกแบบลวดลายใหม่ แต่ยังคงลวดลายเดิมไว้เป็นฐานอยู่ แกนนำในการจัดตั้งกลุ่ม คือ นางอาภรณ์ ศิราไพบูลย์พร เป็นผู้ที่ริเริ่มในการชักชวนสตรีในหมู่บ้านที่มีความสนใจ มีความสามารถ และมีความพร้อมในการร่วมมือกันสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของตน และสร้างรายได้เสริมให้แก่ครอบครัว
นอกจากเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวของสมาชิกในหมู่บ้านแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจ ได้เข้ามาศึกษา หาความรู้ และเป็นการสืบทอดศิลปะการทอผ้ากะเหรี่ยงให้คงอยู่ตลอดไป




เส้นด้าย / สีสำหรับย้อม
ที่โว้นด้าย
ดอกหวิง
ไนปั่นด้าย
อุปกรณ์กี่เอว

เตรียมอุปกรณ์เส้นด้าย ย้อมสีจากธรรมชาติ หรือสีสังเคราะห์ กำหนดความต้องการว่าต้องการทอผลิตภัณฑ์ประเภทไหน เช่น ย่าม เสื้อ ผ้าพันคอ ผ้าโพกหัว ทั้งนี้ เพราะการทอกี่เอว ต้องกำหนดรูปแบบก่อนการทอ นำเส้นด้ายที่จะใช้มาย้อมสีตามต้องการ เมื่อได้เส้นด้ายที่ย้อมสีเรียบร้อยแล้ว จึงนำเส้นด้ายมาม้วนเป็นไจ และโว้นเส้นด้ายตามความยาวของผ้าทอที่ต้องการทอ เมื่อได้เส้นด้ายตามต้องการแล้ว การทอจะใช้กี่เอวทอ ส่วนการออกแบบลวดลายขึ้นอยู่กับผู้ทอที่จะออกแบบลวดลาย และสามารถปรับลวดลายได้ตามความต้องการ เช่น การนำลูกเดือยมาตกแต่ง เป็นรูปดอกไม้ หรือปักเพื่อเพิ่มความสวยงามให้แก่ผลิตภัณฑ์

การประดิษฐ์ลวดลาย
ลวดลายที่นิยมสำหรับการทอผ้ากะเหรี่ยง มี ๓ ประเภท
๑. การทอธรรมดา หรือทอลายขัด
๒. ลายขิด
๓. ลายจก

ผ้าทอกะเหรี่ยง จะต้องทอด้วยกี่เอว และหากเป็นเสื้อสำหรับสวมใส่จะต้องตัดเย็บด้วยมือ ไม่ใช้จักรเย็บ และจะต้องมีสีสันที่สวยงาม ผ้าทอกะเหรี่ยง แต่ละชิ้นจะไม่ซ้ำกัน เนื่องจากการออกแบบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับผู้ทอ และวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ดังนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีออกแบบลวดลายที่ไม่ซ้ำกัน แต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของผ้าทอกะเหรี่ยงไว้เสมอ


ชื่อกลุ่มผู้ผลิต : กลุ่มทอผ้าพื้นบ้านกะเหรี่ยงบ้านแม่ฮ่าง

สถานที่ผลิต : เลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๔ ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ๕๒๑๑๐
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑ - ๐๒๖๔๕๑๕, ๐๘๒ -๑๙๖๒๑๐๔
ประธานกลุ่ม : นางอาภรณ์ ศิราไพบูลย์พร
สถานที่ตั้งกลุ่ม : เลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๔ ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ๕๒๑๑๐
หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑ - ๐๒๖๔๕๑๕, ๐๘๒ -๑๙๖๒๑๐๔


กลุ่มทอผ้าพื้นบ้านกะเหรี่ยงบ้านแม่ฮ่าง สถานที่ตั้งกลุ่ม เลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๔ ตำบลนาแก อำเภองาว จังหวัดลำปาง ๕๒๑๑๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐๘๑ - ๐๒๖๔๕๑๕, ๐๘๒ -๑๙๖๒๑๐๔
ร้านค้าชุมชนตำบลนาแก
ศูนย์แสดงและจำหน่ายสินค้า OTOP อำเภองาว

ประเภทเครื่องดื่ม

- จุดเริ่มต้นของผลิตภัณฑ์ ( ภูมิปัญญา )
ในอดีตที่ผ่านมา ลูกยอ มีชื่อเรียกกันในหมู่บ้านว่า ม่าขี้เต่า หรือ ม่าต๋าเสือ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ เป็นสมุนไพรพื้นบ้านมานาน จะใช้ลูกยอแก่สับเป็นแว่นๆตากแดดให้แห้งและบดให้เป็นผง ผสมมะแว้งขม บอระเพ็ด น้ำผึ้ง กล้วยน้ำว้า ผสมให้เข้ากัน ปั้นเป็นลูกกลอน นำไปตากแห้ง แล้วนำมารับประทาน บำรุงร่างกาย และให้ไก่ชนกินด้วย จะทำให้ไก่แข็งแรงขึ้น ส่วนใบใช้ใบอ่อนมาลวกจิ้มน้ำพริก และทำห่อหมก โดยเชื่อว่าเป็นยาแก้ไอได้ ส่วนรากนำมาต้ม ทำสีย้อมผ้า จะได้สีแดงเข้ม



มีบรรจุภัณฑ์เป็นขวดแก้วสีเขียวขนาด 320ซีซี และ 640 ซีซี มีฉลากสีม่วงที่สวยงาม กลมกลืนกับน้ำลูกยอ ทำให้น่าซื้อไปรับประทาน

- คุณภาพได้รับการรับรองจากกระทรวงอุตสาหกรรมตาม มชผ เลขที่ 1620-6/128
- ได้รับคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับ 4ดาว ระดับภาคเหนือปีพ.ศ. 2546
- ได้รับคัดสรรให้เป็นผลิตภัณฑ์ดีเด่นระดับ 3ดาว ระดับประเทศ ปี พ.ศ.2547

การมีเอกลักษณ์ ลวดลาย ที่สะท้อนความเป็นชุมชน
การมีเอกลักษณ์คือ เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าน้ำลูกยอ ต้องเป็นบ้านแม่หล่ายแหล่งเดียวในจังหวัดแพร่ และเป็นต้นไม้มงคล
การเชื่อมโยงกับสิ่งแวดล้อม
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้นไม้ที่ให้ความร่มรื่นได้อีกด้วย
ตำนานของผลิตภัณฑ์ปรากฏร่องรอยหลักฐานที่อ้างอิงถึงโบราณศิลปวัตถุ ชื่อบ้าน นิทานพื้นบ้าน น้ำลูกยอตรา น้ำหล่าย เป็นชื่อนามสกุลของบรรพบุรุษหลายชั่วอายุ
ผลิตภัณฑ์สะท้อนภูมิปัญญาในด้านใน เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน การเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของชุมชน
1. สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ
2. ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น
4. เป็นอาหารรับประทาน
เรื่องเล่า คำกลอน นิทานของผลิตภัณฑ์
เป็นสมุนไพรเสริมกำลัง
ความดั้งเดิมของวัฒนธรรมและประเพณีของผลิตภัณฑ์
ใช้เป็นยาสมุนไพร

ความสัมพันธ์ของวัตถุดิบกับทรัพยากรในท้องถิ่น
เป็นต้นไม่ที่ชาวบ้านชอบน้ำมาปลูกประดับบ้านเป็นไม้มงคล นอกจากนี้ตั้งแต่ ราก ผล ใบ ยังสามารถนำมาประกอบอาหาร ทำยาสมุนไพรและทำสีย้อมผ้า
วัตถุดิบสะท้อนความเป็นภูมิปัญญา
เป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ช่วยแก้หวัด แก้ไอ แก้ปวดหัว เพิ่มกำลังให้แข็งแรงขึ้น
องค์ประกอบของผลิตภัณฑ์
1. ลูกยอ
2. น้ำตาล
3. น้ำผึ้ง
4. เกลือ
5. น้ำ

1. นำลูกยอมาล้างให้สะอาด สับให้เป็นชิ้นนำไปหมักกับน้ำตาลทรายแดงในโอ่งหรือถังพลาสติกที่รองด้วยถุง พลาสติก หมักทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือน
2. นำน้ำลูกยอหมักมาผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 4ต้มให้เดือดประมาณ 30 นาที แล้วกรองเอาตะกอนออก
3. บรรจุขวด ปิดฝาให้สนิท ติดฉลาก และนำไปจำหน่าย

ประโยชน์
เจ้าของชุมชนใช้หรือมีความสัมพันธ์กับผลิตภัณฑ์ทางด้านใด
1. สุขภาพ
2. ทำให้มีรายได้เสริม
3. ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์




ประเภทอาหาร


ไก่ย่างหนังกรอบร้านศรีสุนีย์ เป็นไก่ย่างสูตรดั้งเดิมของจังหวัดนครนายกที่มีประวัติยาวนานกว่า 40 ปี เพราะเปิดบริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2511 โดยในรุ่นแรกๆ จำหน่ายบริเวณน้ำตก ต่อมาได้ย้ายมาอยู่ในตัวเมืองนครนายก โดยใช้ชื่อร้านศรีสุนีย์ซึ่งเป็นร้านอาหาร และจำหน่ายของฝาก ที่ขึ้นชื่อก็จะเป็นไก่ย่างหนังกรอบ ผลไม้แปรรูป และอาหารจากรสชาดที่กลมกล่อมด้วยเอกลักษณ์ของไก่ย่างสูตรนครนายก เป็นร้านอาหารที่ได้รับการการันตีถึงความอร่อยจากหลากหลายสถาบัน เหมาะสำหรับการรับประทานเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ พื้นที่ให้บริการมีสองชั้นคือชั้นบนและชั้นใต้ดิน ชั้นบนได้แบ่งพื้นที่บางส่วนไว้สำหรับขายของฝากสินค้าคุณภาพผลิตภัณฑ์โอ สินค้า OTOP ทั้งในและต่างจังหวัดมากมาย

ไก่ย่างศรีสุนีย์ เป็นไก่ย่างสูตรนครนายกที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ที่ยังคงเอกลักษณ์ไว่อย่างเหนียวแน่น เนื้อไก่ที่นุ่มรสกลมกล่อม แทบจะไม่ต้องจิ้มน้ำจิ้ม ผนวกกับหนังไก่ที่กรอบ

OTOP Product Champiom ปี 2553 ระดับ 5 ดาว


1. ไก่สด(ขนาดตัวประมาณ 1.2-1.3 ก.ก.)
2. กระเทียมสด
3. พริกไทยป่น
4. ซอสถั่วเหลือง
5. รากผักชี
6. น้ำตาลปี๊ปแท้
7. เกลือป่น

1. นำไก่สดมาล้างให้สะอาด ตัดคอ ตัดขา
2. แล้วนำไปล้างอีกครั้ง เพื่อเอาเยื่อต่างๆออกให้หมด
3. นำเครื่องปรุงทั้งหมดมาปั่นให้ละเอียด เพื่อทำเป็นน้ำหมักไก่โดยไก่ 1 ตัวจะใช้เครื่องปรุง ประมาณ 1 ขีด
4. นำไก่มาหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง
5. หลังจากนั้นนำไก่มาย่างด้วยถ่านอ่อนๆ หรือนำไปอบด้วยอุณหภูมิ 250 องศาฟาเรนไฮน์ จนกระทั่งหนังไก่เหลืองกรอบ
6. รับประทานกับน้ำจิ้มหวาน น้ำจิ้มแจ่ว เคียงคู่กับข้าวเหนียวขาว - ดำร้อนๆ



 ร้านศรีสุนีย์ เลขที่ ข/1 309/1 ต.นครนายก ถ.นครนายก-ท่าด่าน อ.เมืองนครนายก
จังหวัดนครนายก 26000 โทรศัพท์ 0-37311-1529, 08-974831423




วันศุกร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2555

การตลาดของสินค้า OTOP


1. ยุทธศาสตร์การตลาด OTOP ปี 2549
2. การคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP Product Champion : OPC)
2.1. OPC (OTOP Product Champion)
2.2. กรอบในการคัดสรร OPC
2.3. หลักเกณฑ์การคัดสรร OPC ใช้ในการคัดเลือกสินค้า
3. ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด (Product Star OTOP)
3.1. ผลิตภัณฑ์เด่นของจังหวัด หรือ Product Star OTOP
3.2. วัตถุประสงค์
3.3. เกณฑ์การคัดสรรสุดยอดผลิตภัณฑ์เด่นจังหวัด
4. การประกวดหมู่บ้าน OTOP(One Village Champion : OVC)
4.1. การประกวดหมู่บ้าน OTOP หรือ One Village Champion
4.2. วัตถุประสงค์ของ OVC

5. บทบาทกระทรวงพาณิชย์ในการส่งเสริมตลาด OTOP
6. แผนปฏิบัติการส่งเสริมการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ ประจำปี 2549